สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ได้ติดตามสถานการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลในช่วงที่มีการฟอกขาว โดยใช้ข้อมูลของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) พบว่าอุณหภูมิน้ำทะเลมีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม 2561 เป็นต้นมา สาเหตุของการฟอกขาวดังกล่าวเกิดจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย ประกอบกับความล่าช้าของการเกิดลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ซึ่งปกติจะต้องเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม) ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงอยู่เป็นเวลานาน ประกอบกับปริมาณแสงที่ค่อนข้างมากในช่วงฤดูร้อนจนทำให้ปะการังเริ่มเกิดการฟอกขาวได้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พบว่ามวลน้ำที่มีอุณหภูมิสูงทางฝั่งทะเลอันดามันได้เคลื่อนขึ้นไปทางตอนบนของอ่าวเบงกอล และมีสัญญาณบ่งชี้การเกิดมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ขึ้นในเวลาอันใกล้ ซึ่งจะทำให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิลดลง ดังนั้นสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในขณะนี้จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบรุนแรงแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม จากมาตรการเตรียมรับมือและบรรเทาผลกระทบจากปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว ที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดทำขึ้นตั้งแต่หลังการเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา ขณะนี้ยังถือเป็นช่วงเฝ้าระวังการเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว เนื่องจากพบว่าในอ่าวไทยยังมีอุณหภูมิของน้ำทะเลค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับฝั่งทะเลอันดามัน ดังนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงความแจ้งสถานการณ์ปะการังฟอกขาว และขอความร่วมมือจากอาสาสมัคร เครือข่ายในพื้นที่ ผู้ประกอบการ รวมทั้งนักท่องเที่ยวในการเฝ้าระวังและแจ้งเหตุในกรณีที่พบการฟอกขาวอย่างผิดปกติของแนวปะการังในบริเวณต่างๆ โดยสามารถแจ้งเหตุมายังหน่วยงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ หรือช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซด์กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง www.dmcr.go.th และทาง DMCR Mobile Application
สืบเนื่องจากมีรายงานพบการฟอกขาวในระยะเริ่มต้นของปะการังในแนวปะการังน้ำตื้นหลายบริเวณของฝั่งทะเลอันดามัน และอ่าวไทย เช่น เกาะปายุ (ในพื้นที่อ่าวกุ้ง) เกาะไม้ท่อน เกาะแอว เกาะเฮ จังหวัดภูเก็ต โดยแต่ละบริเวณมีปะการังที่มีอาการเริ่มต้นของการฟอกขาวประมาณ <5-10% ของปะการังมีชีวิต โดยรายงานการฟอกขาวเริ่มพบในหลายพื้นที่มากขึ้น ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นมา
ปะการังฟอกขาวในระยะเริ่มต้นที่เกิดบริเวณเกาะไม้ท่อน และเกาะปายู (อ่าวกุ้ง) จ.ภูเก็ต
สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ติดตามสถานการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลในช่วงดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลของNational Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) พบว่าอุณหภูมิน้ำทะเลมีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม 2561 เป็นต้นมา สาเหตุของการฟอกขาวดังกล่าวเกิดจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงในช่วงดังกล่าวประกอบกับความล่าช้าของการเกิดลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งปกติจะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม
ทั้งนี้ ตามปกติในช่วงก่อนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อุณหภูมิน้ำทะเลในบริเวณอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันจะมีค่าสูงสุด เนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อน โดยพบว่าระหว่างวันที่ 5-20 พฤษภาคม ทะเลอันดามันมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 30.0-30.5 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อมีการก่อตัวของมรสุม ดังนั้นการล่าช้าของการเกิดมรสุมในปีนี้จึงทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลมีค่าสูงอยู่เป็นเวลานานกว่าปกติ ทำให้เริ่มเกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวขึ้นในแนวปะการังบางแห่งโดยเฉพาะในบริเวณน้ำตื้นซึ่งแสงแดดส่องถึงได้ง่าย ที่เป็นปัจจัยเสริมให้การฟอกขาวมีโอกาสเกิดได้ง่ายขึ้น
อุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยในช่วงที่เริ่มพบการฟอกขาวของปะการัง
อย่างไรก็ตามบริเวณที่มีอุณหภูมิน้ำทะเลสูงในทะเลอันดามันได้เคลื่อนตัวขึ้นไปทางอ่าวเบนกอลตอนบนแล้ว นอกจากนี้ยังพบการเคลื่อนตัวของ MJO ซึ่งเป็นสัญญาณของการเกิดมรสุมได้เริ่มเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือของอ่าวเบงกอล ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการเกิดมรสุมขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ ดังนั้นแนวปะการังในทะเลอันดามันจึงน่าจะได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิน้ำทะเลสูงในช่วงเวลาสั้น ทำให้ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นในช่วงนี้อาจเกิดเพียงระยะเวลาไม่นานนัก และไม่ส่งผลกระทบรุนแรง
ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับภาพดาวเทียมแสดงแนวโน้มอุณหภูมิของน้ำทะเลและการแจ้งเตือนปะการังฟอกขาว (NOAA Satellite and Information Service, Coral Reef Watch) ที่แสดงให้เห็นว่าน้ำทะเลอุณหภูมิสูงได้เคลื่อนตัวไปอยู่ด้านบน และปรากฎการณ์ฟอกขาวของปะการังในน่านน้ำไทยยังอยู่ในระดับทั่วไปถึงระดับแจ้งเตือน
จากข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะราชาใหญ่ และแหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต พบว่าอุณหภูมิเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายนและต่ำลงเล็กน้อยระยะหนึ่งในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ก่อนที่จะสูงขึ้นต่อเนื่องจนเกิน 31 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่อาจทำให้ปะการังฟอกขาว (Bleaching threshold temperature) ตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะแนวปะการังบริเวณน้ำตื้นใกล้ฝั่ง เช่นแหลมพันวาจะมีอุณหภูมิสูงกว่าแนวปะการังน้ำลึกไกลฝั่งเช่นเกาะราชาใหญ่
รายงานสถานการณ์ปะการังฟอกขาว ปี 2561 |
ฉบับที่ 3 วันที่ 6 - 10 มิถุนายน 2561 |
ฉบับที่ 2 วันที่ 1 - 5 มิถุนายน 2561 |
ฉบับที่ 1 วันที่ 11 - 15 พฤษภาคม 2561 |