coral-icon

2567 ฉบับที่ 3_มิถุนายน 2567

icon26 มิถุนายน 2567
icon 1568 เข้าชม
icon

จากการติดตามการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันในปี 2567 สูงกว่าปีที่เกิดปะการังฟอกขาวในอดีต รวมถึงสูงกว่า ปี 2553 เป็นเป็นปีที่เกิดปะการังฟอกขาวสูงที่สุดในประเทศไทย มีรายงานการเกิดปะการังฟอกขาวกลางเดือนเมษายนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (25 มิถุนายน 2567) ระดับความรุนแรงอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยสรุปแนวปะการังส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล โดยแนวปะการังส่วนใหญ่ในประเทศ ณ เดือนมิถุนายนนี้เกิดการฟอกขาว 88.7% (อันดามัน 90% และ อ่าวไทย 85%) อย่างไรก็ตามยังมีบางพื้นที่ที่ได้ผลกระทบเล็กน้อยหรือเกิดการฟอกขาวในระดับต่ำ (11.3%)

/
แนวโน้มของอุณภูมิน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทยลดลงมาเรื่อยๆ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมทำให้ปะการังบางส่วนเริ่มฟื้นตัวแล้ว  ในขณะที่ฝั่งอันดามันอุณภูมิน้ำทะเลพึ่งเริ่มลดช่วงต้นเดือนมิถุนายนส่งผลให้สถานการณามรุนแรงของปะการังฟอกขาวยังคงดำเนินอยู่

coral-icon

ภาพประกอบ

coral-icon

เอกสารแนบ

icon-file-download
2024 รายงานฟอกขาว ฉ 3.pdf

ประเภทไฟล์ : .pdf

ขนาด: 4.20 Mb

จำนวนดาวน์โหลด : 75

coral-icon

สถานการณ์เกี่ยวข้อง

icon
21 สิงหาคม 2566
2566 ฉบับที่ 5 วันที่ 1 สิงหาคม 2566
เมษายน (ช่วงก่อนการฟอกขาว) อุณหภูมิน้ำทะเลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ยังไม่มีรายงานการฟอกขาว พบเพียงปะการังน้ำตื้นมีสีจางลงในบางพื้นที่ พฤษภาคม – มิถุนายน (ช่วงพีคของการฟอกขาว) อุณหภูมิน้ำทะเลโดยรวมค่อนข้างสูง ปะการังมีสีจางลงในบางพื้นที่ประมาณ 5-30% ส่วนใหญ่เป็นปะการังน้ำตื้น พื้นที่ที่มีรายงานฟอกขาวค่อนข้างมากคือจังหวัดระยอง (5-30%) และ สูงที่สุดที่หมู่เกาะสุรินทร์ (5-60%) และไม่มีรายงานปะการังฟอกขาวในบริเวณทะเลอันดามันใต้ (หน้า 3-5) กรกฎาคม 2566 (ช่วงฟื้นตัวหลังการฟอกขาว) อุณหภูมิน้ำทะเลลดลงสู่ระดับปกติ รวมถึงปะการังที่เกิดการฟอกขาวส่วนใหญ่มีการฟื้นตัว มีเพียงส่วนน้อยที่ตายหลังจากการฟอกขาว (หน้า 3-6)