coral-icon

2566 ฉบับที่ 5 วันที่ 1 สิงหาคม 2566

icon21 สิงหาคม 2566
icon 1299 เข้าชม
icon

จากข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) Coral Reef Watch พยากรณ์ว่าปี 2566 นี้ อาจจะเป็นปีที่โลกมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติที่สุดปีหนึ่งและมีแนวโน้มจะเกิดปะการังฟอกขาวในประเทศไทยช่วงเดือนพฤษภาคมนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้ำทะเลและสถานการณ์ปะการังฟอกขาวมาอย่างต่อเนื่อง (หน้า 2) สถานการณ์ปะการังฟอกขาวในประเทศไทย 2566 โดยสรุปดังนี้

 

Øเมษายน (ช่วงก่อนการฟอกขาว) อุณหภูมิน้ำทะเลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ยังไม่มีรายงานการฟอกขาว พบเพียงปะการังน้ำตื้นมีสีจางลงในบางพื้นที่

 

Øพฤษภาคม – มิถุนายน (ช่วงพีคของการฟอกขาว) อุณหภูมิน้ำทะเลโดยรวมค่อนข้างสูง ปะการังมีสีจางลงในบางพื้นที่ประมาณ 5-30% ส่วนใหญ่เป็นปะการังน้ำตื้น พื้นที่ที่มีรายงานฟอกขาวค่อนข้างมากคือจังหวัดระยอง     (5-30%) และ สูงที่สุดที่หมู่เกาะสุรินทร์ (5-60%) และไม่มีรายงานปะการังฟอกขาวในบริเวณทะเลอันดามันใต้ (หน้า 3-5)

 

Øกรกฎาคม 2566 (ช่วงฟื้นตัวหลังการฟอกขาว) อุณหภูมิน้ำทะเลลดลงสู่ระดับปกติ รวมถึงปะการังที่เกิดการฟอกขาวส่วนใหญ่มีการฟื้นตัว มีเพียงส่วนน้อยที่ตายหลังจากการฟอกขาว (หน้า 3-6)

 

ข้อสังเกต

Øอุณหภูมิน้ำทะเลในประเทศไทยไม่ได้สูงขึ้นมากเหมือนกับทะเลแคริบเบียนที่ได้รับผลกระทบมาจากคลื่นความร้อน (หน้า 6)

จากข้อมูลอุณหภูมิน้ำทะเล National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) Coral Reef Watch พยากรณ์ว่าปี 2566 นี้ อาจจะเป็นปีที่โลกมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติที่สุดปีหนึ่งและมีแนวโน้มจะเกิดปะการังฟอกขาวในประเทศไทยช่วงเดือนพฤษภาคมนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้ำทะเลและสถานการณ์ปะการังฟอกขาวมาอย่างต่อเนื่อง (หน้า 2) สถานการณ์ปะการังฟอกขาวในประเทศไทย 2566 โดยสรุปดังนี้

 

coral-icon

ภาพประกอบ

coral-icon

สถานการณ์เกี่ยวข้อง