coral-icon

ติดตามสถานะ El Niño-Southern Oscillation ในมหาสมุทรแปซิฟิก

icon21 พฤศจิกายน 2567
icon 12957 เข้าชม

ติดตามปรากฏการณ์ El Niño Southern Oscillation (ENSO) ในมหาสมุทรแปซิฟิก

แหล่งข้อมูล NOAA Climate Prediction Center

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567

 

 

 

สถานะของปรากฏการณ์ El Niño Southern Oscillation บ่งชี้โดยค่าดัชนี Oceanic Nino Index (ONI) พบอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเลบริเวณกลางมหาสมุทรแปซิฟิกลดลงมาอยู่ในสถานะเป็นกลางตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยมีค่าเฉลี่ยในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม (-0.2 องศาเซลเซียส) ซึ่งบ่งชี้สถานะเป็นกลาง (Neutral) ทั้งนี้ อาจติดตามการคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมได้จาก International Research Institute for Climate and Society 

 

 

 

ค่าดัชนี Oceanic Nino Index (ONI)

รูปที่ 1 การเปลี่ยนแปลงค่าดัชนี ONI (แกนนอน แสดงเดือนกึ่งกลางของช่วง 3 เดือน เช่น Jan-09 หมายถึง

ค่าเฉลี่ยช่วงเดือนธันวาคม 2551 ถึงกุมภาพันธ์ 2552) และกรอบสีแดงแสดงช่วงปีพบการเกิดปะการังฟอกขาวในน่านน้ำไทย

 

คำอธิบาย

ค่าดัชนี Oceanic Nino Index (ONI) เป็นค่าดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเลตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก บ่งชี้การเกิดปรากฏการณ์ El Niño (ONI>0.5) และ La Niña (ONI<-0.5) ซึ่งเป็นสถานะในปรากฏการณ์ El Niño Southern Oscillation (ENSO) และสามารถส่งผลต่ออุณหภูมิน้ำทะเลในอ่าวไทยและทะเลอันดามันได้ ได้แก่ ในช่วงที่เกิด El Niño อุณหภูมิน้ำทะเลในน่านน้ำไทย อาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่าค่าปกติ และในช่วง La Niña อุณหภูมิน้ำทะเลอาจมีแนวโน้มลดลงต่ำกว่าค่าปกติ นอกจากนี้ Li et al. (2018) เสนอแนะว่า ค่าดัชนี ONI สามารถใช้ในการคาดการณ์การมาถึงของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ค่าดัชนี ONI คำนวณได้จากผลต่างระหว่างอุณหภูมิน้ำผิวหน้าน้ำทะเลเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนในพื้นที่ Nino 3.4 (รูปที่ 2) กับอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเลเฉลี่ยในพื้นที่และช่วงเดือนเดียวกันในช่วง 30 ปี จากชุดข้อมูล ERSSTv5 data (Huang et al., 2017) โดยหน่วยงาน National Oceanic  and Atmospheric Administration (NOAA) ประเทศสหรัฐอเมริกา

อุณหภูมิน้ำทะเลสามารถกระตุ้นให้เกิดปะการังฟอกขาวได้ (รายละเอียดเพิ่มเติม) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในมหาสมุทรแปซิฟิกสามารถส่งผลต่ออุณหภูมิน้ำทะเลในน่านน้ำไทยผ่านกระบวนการในชั้นบรรยากาศและในมหาสมุทร ดังนั้น การติดตามการเปลี่ยนแปลงในมหาสมุทรแปซิฟิก จึงช่วยในการประเมินแนวโน้มการเกิดปะการังฟอกขาวในน่านน้ำไทยได้ล่วงหน้าประมาณ 2-3 เดือน เช่น ปะการังฟอกขาวรุนแรงในปี 2559 ซึ่งเกิดภายหลังค่าผิดสภาพอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นระยะที่ปรากฏการณ์ ENSO มีการพัฒนาเต็มที่

 

 

รูปที่ 2 พื้นที่ติตามการเปลี่ยนแปลงค่าผิดสภาพอุณหภูมิผิวหย้าน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก

(ที่มา https://www.ncdc.noaa.gov/teleconnections/enso/indicators/sst/)

 

 

coral-icon

ข้อมูลประเมินที่เกี่ยวข้อง