coral-icon

ประเมินความเสี่ยงการเกิดปะการังฟอกขาวในน่านน้ำไทย

icon19 เมษายน 2567
icon 5184 เข้าชม

แผนที่ประเมินความเสี่ยงการเกิดปะการังฟอกขาวเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเล

ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันทุกวัน

 

คำอธิบาย

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (สวพ.) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการประเมินความเสี่ยงการเกิดปะการังฟอกขาวเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเล โดยใช้ข้อมูลอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเลย้อนหลัง 30 วัน จากชุดข้อมูล the GHRSST Level 4 OSTIA Global Foundation Sea Surface Temperature Analysis dataset (UK Met Office, 2005) ผลิตโดยหน่วยงาน the Meteorological Office of the United Kingdom (UK Met Office) และเผยแพร่โดยหน่วยงาน  Physical Oceanography Distributed Archive Center (PODAAC) และนำมาคำนวณเพื่อหาค่าดัชนี Bleaching Alert Area (BAA) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อประเมินแนวโน้มผลกระทบที่อาจมีต่อปะการังในน่านน้ำไทย โดยจำแนกเป็นช่วงสีที่สัมพันธ์กับแนวโน้มผลกระทบ (อ่านเพิ่มเติมตามตารางที่ 1

          

ตารางที่ 1 ระดับความเสี่ยงการเกิดปะการังฟอกขาวและแนวโน้มผลกระทบ

สี   ระดับ แนวโน้มผลกระทบ
    Watching 1 ไม่มีผลกระทบ
    Watching 2 ไม่มีผลกระทบ
    Alert 1 อาจพบปะการังสีซีดจาง
    Alert 2 อาจพบปะการังสีซีดจางชัดเจนขึ้น
    Bleaching 1 อาจพบปะการังฟอกขาว
    Bleaching 2 อาจพบปะการังฟอกขาวรุนแรง
 
เกณฑ์ในการพิจารณา พัฒนาโดยเทียบเคียงกับผลการศึกษาผลกระทบต่อปะการังในน่านน้ำไทย โดยเฉพาะในทะเลอันดามัน โดยเป็นการประเมินในภาพรวมของทั้งประเทศ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาค่าดัชนีในการประเมินให้ตอบสนองต่อปัจจัยเชิงท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ผลสำรวจปะการังในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ซึ่งได้จากการแจ้งข่าวโดยอาสาสมัคร เครือข่าย และบุคคลทั่วไป ผ่านช่องทางแจ้งข่าวปะการังฟอกขาว จะช่วยในการพัฒนาระบบให้สามารถประเมินสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น

 

แผนที่จุดความร้อน

(จุดที่อุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเลมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุณหภูมิโดยปกติในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม) 

แผนที่จุดความร้อน แสดงตำแหน่งที่ปะการังน่าจะได้รับความเครียดจากการสะสมความร้อน เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลในช่วง 5 วันล่าสุด แสดงโดยพื้นที่สีแดงในแผนที่

 

หมายเหตุ ระดับความเสี่ยงในแผนที่ เป็นการประเมินความเสี่ยงโดยพิจารณาแนวโน้มผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้ำทะเลซึ่งเป็นภัยคุกคามโดยธรรมชาติที่อาจมีต่อการเกิดปะการังฟอกขาวเท่านั้น ซึ่งระดับของผลกระทบอาจแตกต่างได้ตามปัจจัยในพื้นที่ และประยุกต์ใช้เฉพาะในพื้นที่อ่าวไทยและทะเลอันดามันเท่านั้น

 

ที่มา สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

 

coral-icon

ข้อมูลประเมินที่เกี่ยวข้อง