icon-coral

เกี่ยวกับโครงการ

โครงการพัฒนาระบบประเมินการเกิดปะการังฟอกขาว
ความสำคัญของแนวปะการัง
สถานการณ์แนวปะการัง
ทั่วโลกและภัยคุกคาม
ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว
วัตถุประสงค์ของการพัฒนาโครงการ
icon-coral

ความสำคัญของแนวปะการัง

แนวปะการัง โอเอซีส
แนวปะการัง "โอเอซีส"
แห่งท้องทะเลอันกว้างใหญ่
แนวปะการัง (พื้นที่สีแดง) แม้จะมีเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด แต่มีคุณระโยชน์อันมหาศาลต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลและมนุษย์ ทั้งที่เป็นที่อยู่ แหล่งหากิน ที่หลบภัย ที่วางไข่ของสัตว์น้อยใหญ่ เป็นแหล่งอาหาร และสร้างรายได้ให้แก่ผู้คนทั่วโลกกว่า 500 ล้านคน
เขตพื้นที่ พื้นที่แนวปะการัง %เทียบจากแนวปะการังทั่วโลก
แอดแลนติกและแคริเบียน 21,600 ตร.กม. 7.6
อินโด-แปซิฟิก 261,200 ตร.กม. 91.9
ทะเลแดงและอ่าวเอเดน 17,400 ตร.กม. 6.1
อ่าวและทะเลอาระเบียน 4,200 ตร.กม. 1.5
มหาสมุทรอินเดีย 32,000 ตร.กม. 11.3
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 91,700 ตร.กม. 32.3
แปซิฟิก 115,900 ตร.กม. 40.8
แปซิฟิก ตะวันออก 1,600 ตร.กม. 0.6
รวม 284,300 ตร.กม.  
แนวปะการังเป็น ระบบนิเวศที่มีความสำคัญมาก ต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ สร้างรายได้ให้แก่ผู้คนมหาศาล แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นระบบนิเวศที่บอบบางและ กำลังเผชิญต่อภัยคุกคามต่างๆ
icon-coral

สถานการณ์ภายใต้ภัยคุกคามรอบด้าน

Coral Reef Risk Outlook
ปัจจุบัน
ในปี 2563 75% ของแนวปะการังทั่วโลก กำลังถูกคุกคาม จากกิจกรรม ของมนุษย์อุณหภูมิน้ทะเลที่เพิ่มขึ้น
อีก 10 ปีข้างหน้า
ในปี 2573 จะมากขึ้น 90% ของแนวปะการังทั่วโลก จะอยู่ในภาวะถูกคุกคาม จากกิจกรรมของมนุษย์ ภาวะโลกร้อนและทะเลเป็นกรด
อีก 30 ปีข้างหน้า
ในปี 2593 แนวปะการังเกือบทั้งโลกจะอยู่ในภาวะถูกคุกคาม และ 75% จะอยู่ในภาวะถูกคุกคามอยู่ในระดับรุนแรงและวิกฤต
The Red List Index (RLI) of species survival
 
ดัชนีการอยู่รอด (The Red List Index (RLI) ของสิ่งมีชีวิตในอนาคตอันใกล้หากไม่มีมาตรการจัดการ
ดัชนีอยู่ในช่วง 0 ถึง 1 ถ้า ค่า RLI เท่ากับ 1.0 หมายถึงสิ่งมีชีวิตกลุ่มนั้นมีอัตราการอยู่รอดสูงหรือมีโอกาศที่จะสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่มีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการสูญพันธ์ในอนาคตอันใกล้หากไม่ได้รับการจัดการและการดูแล
 
การประเมิณความเสี่ยงต่อการสูญพันธ์ของชนิดพันธ์ของ IUCN
icon-coral

ปะการังฟอกขาว

คือภาวะที่สีของปะการังเปลี่ยนเป็นสีขาว - โดยปกติปะการังจะมีสีสันที่หลากหลาย แต่ในภาวะที่อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นทำให้ปะการังเครียดและเปลี่ยนเป็นสีขาว

ในรายละเอียด ปกติแล้วในเนื้อเยื่อของปะการังนั้นมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเซลล์เดียวหลายล้านเซลล์ มีชื่อว่า สาหร่ายซูแซนเทลลี่ (zooxanthellae) มีความสัมพันธ์พึ่งพาอาศัยกันกับปะการังแบบต่างก็ได้รับประโยชน์กับปะการัง สาหร่ายได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการหายใจของปะการังและใช้เปลี่ยนสารเหล่านี้เป็นคาร์โบไฮเดรตและออกซิเจนโดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และจะถูกถ่ายโอนไปเป็นพลังงานของปะการัง ดังนั้นสาหร่ายซูแซนเทลลี่นี้จึงมีความสำคัญมากต่อการมีชีวิตอยู่ของปะการัง เมื่อปะการังมีความเครียดเนื่องจากอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นและปริมาณแสงที่มากเกินไป กระบวนการสังเคราะห์แสงเกิดความผิดพลาดและสร้างสารพิษขึ้น ปะการังจึงขับสาหร่ายออกไปจากตัว/ หรือด้วยสภาวะที่ไม่เหมาะสมสาหร่ายจึงออกจากตัวปะการัง เมื่อปะการังสูญเสียสาหร่ายจึงทำให้มีสีจางลงและทำให้มองเห็นโครงสร้างหินปูนผ่านเนื้อเยื่อโปร่งแสงซึ่งเป็นสีขาวในที่สุด จึงเรียกว่า “ปะการังฟอกขาว”

เผยแพร่ความรู้บนเว็บไซต์
ปะการังมีชีวิตปกติ
ปะการังตาย

Let me show you the difference between living coral and dead structure. If you look from far you may see similar brown between live and dead. But when look closer Dead skeleton will be covered by sediment and filament algae and not see holes or calalite as the living one.

Coral bleaching distribution; a percentage of the coral assemblage that bleached




 
การศึกษาของ Sully et al. (2019) แสดงให้เห็นว่า
ปะการังฟอกขาวมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นบ่อยและถี่ขึ้น
Sully et al., 2019
icon-coral

ปะการังฟอกขาว

ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน (อุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มขึ้น) กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปะการังได้รับความเสียหายและประชากรมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มว่าจะเกิดถี่และทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยมักจะพบปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของทุกปี ในช่วงที่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องกันหลายวัน

เนื่องจากแนวปะการังมีคุณค่ามากมายดังที่กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อปะการังเกิดฟอกขาวจึงส่งผลผลกระทบทั้งต่อปะการังและประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับแนวปะการังนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงมีความประสงค์พัฒนาระบบประเมินการเกิดปะการังฟอกขาวขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านการเกิดปะการังฟอกขาว เพื่อการแจ้งเหตุและให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการและสาธารณะสำหรับการเตรียมพร้อมและรับมือ และใช้ติดตามสถานการณ์ประเมินสถานการณ์ในภาพรวมของการเกิดปะการังฟอกขาวเปรียบเทียบกันในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ประชาชนและอ้างอิงทางวิชาการต่อไป

เผยแพร่ความรู้บนเว็บไซต์
The 2010 bleaching event in the Andaman Sea
 
Daily mean temperature at Phuket, 7m depth
Bleaching tolerant species

Porites

Diploastrea

Astreopora

Favia

Pavona

Goniastrea

Bleaching susceptible species

Montipora

Acropora

Pocillopora

Pocillopora

Echinopora

Hydnophora

2010
2016
2019

However, corals showed different responses to thermal stress and important spatial differences, both between and within reefs. What we actually found during the heat stress event.